วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

10 แฮกกอร์ระดับโลก

10 อันดับแฮกเกอร์ที่โคตรเก่งกาจ




1. Jonathan James


ตอนที่หมอนี่โดนจับ ทั่วทั้งอเมริกาแตกตื่น เพราะหมอนี่อายุเพียง 15 ปีเท่านั้น(เวรตูยังดูช่องเก้าการ์ตูนอยู่เลย) Jonathan James หรือชื่อรหัสในโลก Hacker ก็คือ c0mrade ได้สร้างชื่อด้วยการเจาะระบบมากมาย ตั้งแต่บริษัทโทรศัพท์ BellSouth ไปจนถึงหน่วยงาน DTRA ในกระทรวงกลาโหมสหรัฐ และที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในปี 1999 หมอนี่ Hack เข้าไปฝังตัว Backdoor ใน Nasa ซึ่งทำให้อ่านข้อมูลลับได้มากมายรวมไปถึงขโมยโปรแกรมที่ทาง Nasa พัฒนาขึ้นด้วยเงินมหาศาลถึง 1.7 ล้านดอลล่าร์สหรัฐไปหน้าตาเฉย ซึ่งในภายหลังทาง Nasa ต้องปิดระบบถึงสามสัปดาห์เพื่อแก้ไข ทำให้สูญเสียเงินไปอีก 41,000 $ ปล. หมอนี่บอกกับศาลว่า เค้าอยากได้โปรแกรมมาเพื่อฝึกฝีมือภาษา C ของตัวเองเท่านั้น แต่พอขโมยมาได้ ก็กลับถามว่าโปรแกรมห่วยๆนั่นมีค่าถึง 1.7 ล้านดอลล่าร์เลยเชียวหรือ 





2. Adrian Lamo

อีตานี่ก็เป็นอีกหนึ่ง Hacker ที่แสบไม่แพ้กัน ซึ่งคนที่โดน Adrian Lamo เจาะเข้าไป ก็มีตั้งแต่ หนังสือพิมพ์ The New York Times , Microsoft , Yahoo , Bank of America , CitiGroup และ Cingular ซึ่งที่ๆสร้างชื่อเสียงที่สุดให้เขาก็คือ การที่เขาเจาะเข้าไปใน The New York Times และเอาชื่อตัวเองเข้าไปใส่ไว้ใน แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ระดับสูงของหนังสือพิมพ์ The New York Times และใช้บัญชีของนักเขียนชื่อดัง LexisNexis ในการค้นคว้างานวิจัยจากฐานข้อมูลของ The New York Times อีกด้วย หลังจากที่ใช้กรรม ไปมากมาย ตอนนี้ Adrian Lamo ทำงานเป็นนักข่าว และนักพูด เกี่ยวกับวงการ Hacker และพึ่งจะได้รับรางวัลนักข่าวยอดเยี่ยมมาไม่นานนี้เอง






3. Kevin Mitnick

นี่คือชายที่ครั้งหนึ่ง กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐเคยหมายหัวไว้ว่า “อาชญากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทางสหรัฐต้องการตัวมากที่สุด” เพราะเขาคือคนแรกที่ทำให้คำว่า Hacker โด่งดังไปทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้ ผลงานของ Mitnick อาจจะเก่าไปซักหน่อย เพราะพี่ท่านเล่น Hack มาตั้งแต่ช่วงปี 70’ กับผลงานการเจาะระบบ Punch Card ของ Los Angeles Bus System ทำให้เขาสามารถขึ้นรถเมล์ได้ฟรีตั้งกะอายุ 12. เข้าไปป่วนระบบโทรศัพท์ทำให้โทรทางไกลได้ฟรีๆ จากนั้นก็ ขโมยข้อมูลของบริษัทคอมพิวเตอร์ชื่อดังอย่าง DEC (Digital Equipment Corporation) ตามด้วยหน่วยงานด้านการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ โอ๊ย อีตานี่แสบๆๆ หลังจากที่ไปรับกรรมในคุกอยู่สองปีครึ่ง ตอนนี้เค้าก็กลายเป็น Hacker ที่หลายๆบริษัทขอความช่วยเหลือในการตรวจสอบระบบครับ(และสำคัญมากเป็นเพราะอี ตานี่เองที่ทำให้โลกเราได้รู้จัก White-Hat สายเลือดเอเชียที่เก่งกาจ)





4. Kevin Poulsen

มีชื่อเรียกสวยเก๋ในวงการแฮกเกอร์ว่า Dark Dante, ผลงานเด่นๆของ Kevin Poulsen ก็คือการที่เค้าเจาะระบบโทรศัพท์ของสถานีวิทยุ KIIS-FM ใน LA ทำให้เค้าได้รางวัลรถ Porsche มาครอง และที่เด่นๆ ก็คือ อีตานี่แหย่หนวดเสือไป เจาะระบบฐานข้อมูลของ FBI ครับ และที่สำคัญก็คือ ระบบดักฟังของ FBI ครับ หลังจากที่ Kevin Poulsen โดนซิวไป 5 ปี ตอนนี้เค้าก็กลายเป็น นักข่าวอาวุโสของสำนักข่าว Wired News และคอยช่วยเหลือในการไล่จับพวก BlackHat คนอื่นๆอีกมากมาย





5. Robert Tappan Morris

เค้าคือลูกชายของอดีตเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ ของ NSA (National Security Agency) แท้ๆแต่ดันใช้ความรู้ในทางที่ผิดก่อความเดือดร้อนให้ชาวบ้านไปทั่ว เพราะหมอนี่แหละครับคือคนแรกที่สร้าง Worm ขึ้นมา และทำให้ระบบเครือข่ายพังทลายไปหลายวันเลยทีเดียว ขณะที่ Morris กำลังเรียนอยู่ที่ Cornell เค้าอยากรู้ว่าอินเทอร์เน็ตมันใหญ่ขนาดไหน เค้าก็เลยสร้างโปรแกรมที่มันจะเจาะไปได้เรื่อยๆ ไปๆมาๆ นั่นกลายเป็นเวิร์มตัวแรกของโลกที่ชื่อว่า MorrisWorm หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์กว่า 6,000เครื่องทั่วโลกก็เจ๊งยับ เพราะเวิร์มของหมอนี่ พอโดนจับ Morris ก็โดนลงโทษจำคุก 3 ปีและโดนค่าปรับ 10,500 เหรียญและ ทำงานช่วยเหลือสังคมอีก 400 ชม.(ลงโทษขนาดนี้ แรงไปไหมพี่ เบากว่านี้ได้อีกนะ ) และหลังจากที่รับกรรมไปแล้ว ตอนนี้ Robert Morris ก็เป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ที่ MIT ครับ 


..และมาต่อกันด้วย ตำนานฝั่งสีขาว White-Hat Hacker..




6. Stephen Wozniak  
พูดถึง Apple Computer ใครๆก็อาจจะนึกถึง Steve Jobs ชายหนุ่มหัวแอบล้านซึ่งหลายๆคนรอคอย KeyNote ของเค้าในงาน MacWorld Conference ทุกปี แต่หารู้ไม่ว่าจริงๆแล้วถ้า Apple Computer ขาดเค้าคนนี้ไปล่ะก็ มันจะไม่มีวันนี้แน่นอน เพราะ Steve Wozniak คือผู้่ร่วมก่อตั้ง Apple Computer ครับ การเป็น Hacker ช่วงแรกของเค้าอยู่ที่ เค้าได้ไปอ่านบทความเรื่องการเจาะระบบโทรศัพท์ในหนังสือ Esquire เข้า หลังจากที่คุยกับ Steve Jobs พวกเขาก็ได้คิดค้น BlueBox เครื่องเจาะระบบโทรศัพท์ที่ทำให้คุณสามารถ โทรทางไกลได้ฟรีๆ (เอาเข้าไป) มีครั้งหนึ่ง Steve Wozniak ได้แอบใช้เครื่อง BlueBox โทรหาพระสันตปาปา โดยปลอมตัวว่าเป็น Henry Kissinger รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐในตอนนั้น แสบจริงๆ สำหรับช่วงแรกของการก่อตั้ง Apple Computer. Wozniak ได้ขายเครื่องคิดเลขแสนแพงของเขา และ Jobs ได้ขายรถแวนของเขา เพื่อเป็นทุนในการก่อตั้ง Apple Computer ครับ และสุดทเครื่อง Apple I ก็วางตลาด และทั้งคู่ได้ขายเครื่องนี้ในราคาเครื่องละ 666.66$ (เลขซาตานชัดๆ)






7. Tim Berners-Lee

ต้องขอบอกว่า ถ้าไม่มีอีตานี่โลกเราจะไม่มีคำว่า World Wide Web ครับ เพราะเค้าคนนี้คือ คนที่ คิดค้น www ขึ้นบนโลก. Tim Berners-Lee เป็นลูกของสองนักคณิตศาสตร์ระดับโลก Convey และ ​Mary Berners-Lee ซึ่งเป็นทีมสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ Manchester Mark 1 เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆของโลก ในปี 2532 Tim Berners-Lee ทำงานเป็น FreeLance อยู่ที่ CERN (ศูนย์วิจัยเรื่องนิวเคลียร์ของยุโรป) ซึ่งเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปเขาได้คิดค้นระบบข้อ ความหลายมิติ (Hypertext) ขึ้นมา ซึ่งเมื่อมันผนวกเข้ากับ TCP และ DNS ล่ะก็ มันจะเป็นความสุดยอดของ HyperText แน่นอน และหลังจากนั้นมันจึงกลายเป็น ​World Wide Web ครับ เมื่อปี 2548 เขาได้รับรางวัล 1 ในร้อยบุคคลที่ทรงอิทธิพลต่อคนทั้งโลกมากที่สุด และในปี 2550 Tim Berners-Lee ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้า จากสมเด็จพระบรมราชินีเอลิซาเบทที่สอง เป็นการส่วนพระองค์ ทำให้ตอนนี้เค้ากลายเป็น Sir Tim Berners-Lee ไปแล้วครับ ผลงานการ Hack ของ Tim Berners-Lee ไม่เป็นที่ปรากฏ แต่ว่า เรื่องนี้ก็ทำให้เค้าโดนไล่ออกจากมหาวิทยาลัย Oxford ล่ะครับ ปล. เว็บไซต์แรกของโลกคือ http://info.cern.chสร้างขึ้นโดย Tim Berners-Lee นี่แหละครับ  





8. Linus Torvalds 
 บิดาผู้ให้กำเนิด Linux ระบบปฏิบัติการ Unix ที่คนนิยมกันมากที่สุดในโลกขณะนี้ ในปี 1991 ขณะที่เขายังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย เฮลซิงกิ เขาได้สร้าง linux kernel ขึ้นจากพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ Minix ขึ้น หลังจากนั้น เขาก็รวบรวมสมัครพรรคพวกมาช่วยกันเขียน และช่วยกันพัฒนาต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยที่เขาเป็นคนรวบรวม ตรวจสอบ และแจกจ่ายงานไปยังโปรแกรมเมอร์ต่างๆทั่วโลก รวมถึงแจกจ่ายให้คนช่วยกันเอาไปใช้ฟรีๆอีกด้วย จุดที่น่าสนใจของโครงการนี้ก็คือ ทุกคนที่มาร่วมทำนั้น ทุกคนยินดีช่วยโดยไม่ได้ค่าตอบแทนแต่อย่างใด และมีเงื่อนไขต่อด้วยอีกว่า เมื่องานเสร็จแล้วจะต้องเผยแพร่ตัว Source Code แก่สาธารณะโดยไม่คิดมูลค่าเช่นเดียวกันครับ ทุกวันนี้ Linux Torvalds ทำงานอยู่ที่บริษัท Transmeta บริษัทที่ทำหน้าที่ออกแบบ CPU และยังคงดำรงตำแหน่ง ผู้นำของบรรดาผู้ใช้งานและพัฒนา Linux ทั้งโลกครับ ยิ่งไปกว่านั้น หนังสือ Times Magazine ได้ยกให้เค้าเป็น หนึ่งคนในหนังสือชื่อ 60 Years of Hero  สุดยอดดดดดดด





9. Richard Stallman
ผู้ริเริ่มโครงการ GNU (อ่านว่า กนู นะครับ) และมูลนิธิซอฟท์แวร์เสรี รวมไปถึงผู้ริเริ่มแนวคิดเรื่อง Copyleft (ฮ่า) และเป็นผู้ร่างสัญญาอนุญาติให้ใช้ได้ทั่วไป และต่อในภายหลัง สัญญานี้ได้กลายเป็น บรรทัดฐานซอฟท์แวร์เสรีจำนวนมาก ความเป็นแฮกเกอร์ของเค้าโผล่มาตอนที่เค้าทำงานอยู่ที่ MIT ในฐานะของ Staff Computer ทุกครั้งที่มีระบบอะไรใหม่ๆติดตั้งเข้าไปและมีรหัสผ่านกำกับอยู่ Richard Stallman จะหาทางแฮกและปลดรหัสผ่านออกทุกครั้ง ยังครับยังไม่พอ พอแฮกระบบเสร็จก็แฮก Printer ต่อเพื่อพิมพ์ข้อความบอกชาวบ้านว่าระบบไหนอยู่ที่ไหน ปลดรหัสผ่านอะไรไปแล้วบ้าง แสบจริงๆ





10. Tsutomu Shimomura

สุดยอด White-Hat สายเลือดเอเชีย Tsutomu Shimomura ได้รับชื่อเสียงอย่างโด่งดัง ในฐานะที่ร่วมมือกับ John Markoff ในการช่วยเหลือ FBI ไล่จับสุดยอดแฮกเกอร์ของโลกในยุคนั้น นั่นก็คือ Kevin Mitnick นั่นเอง Tsutumu ทำงานเป็นนักวิจัยอยู่ที่ SDSC (San Diego Supercomputer Center) ซึ่งจริงๆแล้วก็โดนอีตา Kevin เข้ามาแฮกเอาโปรแกรมและเมล์สำคัญๆไป ดังนั้นด้วยคาวมแค้นเขาจึงร่วมมือกับ FBI ไล่จับ Kevin Mitnick ซึ่งต่อมาเมื่อเขาจับได้ เขาก็เลยเขียนหนังสือชื่อ Takedown เป็นเรื่องราวของการไล่จับ Kevin Mitnick ซึ่งต่อมาได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง TakeDown ด้วย

ตัว ผมเองไม่มีความรู้ถึงขนาดนั้นคงไม่สาระแนไปแนะนำใครได้ ก็ได้แต่หวังว่าคนที่มีความรู้คงจะเอาความรู้ที่มีไปใช้ให้มันถูกทางไม่ เดือดร้อนคนอื่นก็แล้วกัน จะขาวจะดำก็เรื่องของคุณ แต่ขอบอกนะ ไม่เห็นหมวกดำคนไหนรอดคุกสักคน ที่เห็นๆนี่โดนคุกทุกคน น้อยมากอยู่ที่ความสำนึก


วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประเภทของเกม

ประเภทและชนิดของเกมส์ 

1.เกมส์เลียนแบบหรือการจำลอง (Simulation Games) เช่น SIMS  ซึ่งเป็น เกมส์ที่พยายามเลียนแบบเหตุการณ์จริง เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เล่น เช่น การฝึกบินจำลอง การขับรถจำลอง ตัวอย่างเกมประเภทนี้ คือ Flight SIM
2.เกมส์แอคชั่นแบบ FPS(Action First Person Shooters Games) เป็นเกมส์ ยิงปืนที่ผู้เล่นเป็นตัวเอกไล่ยิงผู้ร้าย ไปจนถึงสัตว์ประหลาดต่างๆ
ตามระดับการเล่น  มีทั้งเล่นแบบคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่ม ตัวอย่างเกมส์ประเภทนี้ได้แก่ Doom,Half-Life,Quake III
3.เกมส์ผจญภัย (Adventure Games) มีวัตถุประสงค์ของเกมส์เพื่อทำภารกิจให้สำเร็จในดินแดนที่สร้างขึ้น ต้องแก้ไขปัญหาหรือหาสิ่งจำเป็นในระดับของเกมที่แตกต่างกันไป เช่น หากุญแจเพื่อไขเปิดห้องลับเพื่อไปหยิบอาวุธ  เกมส์ประเภทนี้ได้แก่ Myst ,Zelda
4.เกมส์ RPG (Role-Playing) เป็นเกมส์ที่ผู้เล่นสามารถสร้างหรือเลือก character ของตัวละครให้ตรงกับความชอบของตัวเอง แล้วเล่นไปตามเนื้อเรื่องของเกมส์ ตัวอย่างเกมประเภทนี้ ได้แก่ Racknaroc,Diablo II
5.เกมส์ต่อสู้ (Fighting Game) เป็นเกมส์ต่อสู้กันโดยมีตัวละครต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว ด้วยเทคนิคการต่อสู้เฉพาะตัว  ตัวอย่างเกมส์ประเภทนี้ ได้แก่ Mortal Kombat,Boxing
6.เกมส์วางแผน (Strategy Games)  เกมส์ที่ใช้ความคิด นำกลยุทธ์มาใช้เพื่อเอาชนะ เกมส์มีเรื่องราวเป็นนิทาน หรือตำนาน มีตัวละครนำและการผูกเรื่องเข้ากับการต่อสู้และวางแผนในเกมส์  ตัวอย่างเกมประเภทนี้ ได้แก่ checkers,Age of Mythology
7.เกมส์ปริศนา (Puzzle Game) เกมส์แก้ปัญหาให้ลุล่วงตามจุดประสงค์หลักของเกมส์ เช่น Tetris(เกมตัวต่อ นั่นเอง)
8.เกมส์กีฬาและการแข่งขัน (Sport & Racing Games) วัตถุประสงค์ของเกมส์เพื่อการเป็นที่หนึ่งของการแข่งขัน เช่น
แข่งรถ แข่งฟุตบอล เช่น FIFA Soccer 
                                          credit :  http://guru.sanook.com/27010/

งานบริการคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
หมายถึง ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กระบวนการในการทำงานตลอดจนเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องในระบบประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/3-1.JPG
ส่วนประกอบของซอต์แวร์

ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น ชนิด คือ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System)

ระบบปฏิบัติการ หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์แลซอฟต์แวร์ประยุกต์ มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่นMS - DOS , UNIX , Windows 95 , และ Mac System 7 เป็นต้น ระบบปฏิบัติงานมีหน้าที่หลัก ๆ คือ
จัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ ที่เก็บข้อมูลสำรอง และเครื่องพิมพ์
จัดการงานในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้
ให้บริการโปรแกรมประยุกต์อื่น เช่น การรับข้อมูล และการแสดงผล เป็นต้น ปกติแล้วโปรแกรมประยุกต์จะถูกเรียกให้เริ่มต้นทำงานผ่านระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการทำงานอยู่เบื้องหลังการทำงานของผู้ใช้ โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการบนเครื่องเมนเฟรมหรือเครื่องที่มีขนาดใหญ่ก็ย่อมมีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เพราะต้องดูแลการทำงานหลายอย่างจากผู้ใช้หลายคนพร้อมกัน

ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันนี้ ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม จะแยกตามฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้เป็น ระบบ คือระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่อง ไอบีเอ็มพีซี (IBM personal Computer) หรือ ลียนแบบไอบีเอ็มพีซี (IBM PC Competible) และระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่องแมคอินทอช (Macintosh) โดยปกติแล้ว โปรแกรมประยุกต์ใด ๆ จะสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานบนเครื่องไอบีเอ็มพีซี ก็จะไม่สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องแมคอินทอช เพราะเครื่องไอบีเอ็มพีซี จะนิยมใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ที่เรียกว่าอ็มเอสดอส (MS - DOS)หรืออาจใช้ระบบที่ใหม่กว่าคือไมโครซอฟต์วินโดว์ (Microsoft Windows) หรือระบบปฏิบัติการแบบเปิดในตระกูลยูนิกซ์ เช่น SCO UNIX หรือ LINUX ในขณะที่เครื่องแมคอินทอชใช้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าแมคอินทอชซิสเต็มเซเว่น (Macintosh System 7) ซึ่งออกแบบโดยบริษัทแอปเปิล การที่เครื่องสองชนิดใช้ระบบปฏิบัติการต่างกัน เนื่องมาจากมีหน่วยประมวลผลกลางไม่เหมือนกัน ผู้ที่จะผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จะต้องเลือกที่จะผลิตซอฟต์แวร์ให้ใช้บนระบบใดระบบหนึ่ง หรือถ้าจะให้ใช้ได้บนระบบปฏิบัติการทั้งสองชนิดก็ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาสองชุด
โดยมากแล้วผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สนใจว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการใด แต่จะเลือกซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามต้องการ แล้วจึงพิจารณาว่าซอฟต์แวร์นั้นทำงานบนระบบปฏิบัติการชนิดใด แต่ผู้ใช้บางกลุ่มก็เจาะจงเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส เพราะมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้เลือกใช้ได้มากมาย และผู้ใช้บางกลุ่มก็ต้องการใช้เครื่องแมคอินทอช เพราะมีระบบโต้ตอบผู้ใช้ที่ได้ง่ายและสวยงาม

ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส (MS - DOS)
ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้มักจะมีฮาร์ดดิสก์ติดอยู่ด้วยเสมอ เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิสก์มาไว้ในหน่วยความจำของเครื่องเพื่อเตรียมที่จะใช้งานได้ทันทีที่ต้องการ ขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องนั้นเรียกว่าการบูตระบบ (booting) หรือ บูตแสตป (bootstrap) ซึ่งมีขั้นตอนคือเมื่อเปิดสวิทช์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โปรแกรมเล็ก ๆ ที่อยู่ในหน่วยความจำรอม (ROM) จะเรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลัก ซึ่งจะได้ผลลัพธ์บนจอภาพเป็น C > หรือ C:\ > โดยที่หมายถึงดิสก์ไดรฟ์ที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย > หมายถึงการเตรียมพร้อมที่จะทำงาน (prompt) จากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถพิมพ์คำสั่งของเอ็มเอสดอสได้ทันที
ไมโครซอฟต์วินโดว์
ไมโครซอฟต์วินโดว์ หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่าวินโดว์ มีระบบการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบกราฟิกที่มีสีสันสวยงามและสามารถใช้ได้ง่าย เรียกระบบที่ติดต่อกับผู้ใช้ลักษณะนี้ว่า GUI (Graphic user Interface) ซึ่งผู้ใช้บนระบบวินโดว์จะทำงานกับเมนู (menu)และรูปภาพที่เรียกว่าไอคอน (icon)แทนที่จะเป็นการพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ดังรูป
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/3-2.JPG
แสดงไอคอนและเมนูบนระบบวินโดว์

เมนูดังรูปจะเรียกว่า พูลดาวน์เมนู (pull down menu) ซึ่งจะเป็นเมนูที่เมื่อทำการเลือกรายการที่ต้องการแล้วจะมีรายการย่อยถูกถึงลง (pull down) ให้ปรากฏออกมาก นอกจากนี้จะมี เมนูอีกชนิดกนึ่งเรียกว่า ป๊อปอัพเมนู (pop-up menu) ซึ่งจะปรากฏเป็นหน้าต่างย่อยซ้อนขึ้นมาด้านหน้าเมื่อเลือกรายการที่ต้องการ
ระบบวินโดว์มีข้อดีคือเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้ง่าย โดยการแสดงภาพกราฟฟิกบนจอภาพเมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องขึ้นมา และผู้ใช้สามารถใช้เมาส์ในการชี้และคลิกที่ภาพเพื่อเลือกซอฟต์แวร์ที่ต้องการ แทนที่จะต้องพิมพ์คำสั่งเช่นเดียวกับระบบดอส ดังนั้นระบบวินโดว์จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง และได้มีการพัฒนาเป็นเวอร์ชันใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง นับจากWindows 3.0 , Window for Workgroup ซึ่งเป็น cooperative multitasking จนมาถึง Windows 95 ซึ่งเป็น preenptive multitasking และ Windows NT ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายแบบClient/Server

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีคุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส แต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เช่นเครื่องระดับเมนเฟรม ได้ถูกพัฒนาขึ้นกว่าสองทศวรรษก่อนที่จะมีเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เสียอีก เครื่องระดับเมนเฟรมจะนำมาใช้ในด้านธุระกิจและการศึกษา ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อม ๆ กันจำนวนมาก ทำให้ระบบปฏิบัติการของเครื่องระดับนี้มีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อม ๆ กันจำนวนหลาย ๆ โปรแกรม (Multitasking) การเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลาย ๆ คน (Mutiuser) การจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคน

ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Operating System)
ในสมัยก่อนผู้ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการคือบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของบริษัทเท่านั้น เรียกระบบปฏิบัติการประเภทนี้ว่า ระบบปฏิบัติการแบบปิด (Proprietary operating system) ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันนี้เครื่องระดับเมนเฟรมผู้ขายก็ยังคงเป็นผู้กำหนดความสามารถของระบบปฏิบัติการของเครื่องที่ขายอยู่ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้เริ่มมีแนวโน้มที่จะทำให้ระบบการสามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ (Protable operating system) เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น
ะบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1971 โดย และ จากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT& T ซึ่งได้ทำการพัฒนาบนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของ DECระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบที่สนับสนุนผู้ใช้งานจำนวนหลายคนพร้อม ๆ กัน โดยใช้หลักการแบ่งเวลา (time sharing) ต่อมาในปี ค.ศ. 1970 ได้มีการบริจาคระบบปฏิบัติการนี้ให้กับวงการศึกษา และมีการนำไปใช้ทั้งในมหาวิทยา และวิทยาลัยต่าง ๆ มากมาย นักศึกษาจำนวนมากจึงได้ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นผลให้เมื่อนักศึกษาเหล่านั้นจบออกไปทำงาน ก็ยังคงเคยชินกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์และจัดหามาใช้ในองค์กรที่ทำงานอยู่ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงได้รับการยอมรับในวงการอุตสาหกรรมและวงการอื่น ๆ อย่างแพร่หลายและมีการใช้งานอยู่ตั้งแต่เครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงเครื่องระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์

ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator)
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้น โปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ตามแต่ความชำนาญของแต่ละคน โปรแกรมที่ได้จะเรียกว่า โปรแกรมต้นฉบับ หรือ ซอร์สโคด (source code) ซึ่งมนุษย์จะอ่านโปรแกรมต้นฉบับนี้ได้แต่คอมพิวเตอร์จะไม่เข้าใจคำสั่งเหล่านั้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์เข้าใจแต่ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งประกอบขึ้นจากรหัสฐานสองเท่านั้น จึงต้องมีการใช้โปรแกรม ตัวแปรภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) ในการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาต่าง ๆ ไปเป็นภาษาเครื่องโปรแกรมที่แปลจากโปรแกรมต้นฉบับแล้วเรียกว่า ออบเจคโคด (object code) ซึ่งจะประกอบด้วยรหัสคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ต่อไป
ตัวแปลภาษาที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน จะต่างกันที่ขั้นตอนที่ใช้ในการแปลภาษาให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ สามารถแบ่งได้เป็น
แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง
อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลพร้อมกับงานตามคำสั่งทีละบรรทัดตลอดทั้งโปรแกรม ทำให้การแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายและรวดเร็วแต่ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลโดยการใช้อินเตอร์พรีเตอร์นั้นไม่สามารถเก็บไว้ใช้ใหม่ได้จะต้องแปลโปรแกรมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน
คอมไพเลอร์ (Compiler) จะเป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์แต่จะใช้วิธีแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจคโคด ก่อนที่จะสามารถนำไปทำงานเช่นเดียวกับแอสแซมเบลอ ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลนั้นสามารถจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้นำไปใช้ในการทำงานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ ซึ่งเป็นข้อดีของคอมไพเลอร์ที่จะนำผลที่ได้จากการแปลนั้นไปใช้งานกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัด ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลใหม่ทุกครั้ง ทำให้เป็นรูปแบบการแปลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
ในปัจจุบัน มีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือแปลจากซอร์สโคดไปเป็นรหัสชั่วคราวหรืออินเทอมีเดียตโคด (Intermediate code) ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วยการใช้โปรแกรมในการอ่านและทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้น โดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับอินเทอพรีเตอร์ แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัสชั่วคราวนั้นไปใช้ได้กับทุก ๆ เครื่องที่มีโปรแกรม

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software)
จะมีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมด้านการคำนวณราคาค่าน้ำของแต่ละบ้าน จะมีประโยชน์กับงานด้านการประปา หรือโปรแกรมสำหรับฝากถอนเงิน ก็จะมีประโยชน์กับองค์กรเกี่ยวกับการเงิน เช่น ธนาคาร
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้านส่วนมากจะไม่มีการจำหน่ายอยู่ทั่วไป องค์กรที่ต้องการใช้งานมักจะต้องพัฒนาด้วยตนเอง หรือว่าจ้างบริษัทซอฟต์แวร์พัฒนาให้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีบริษัทซึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์เฉพาะด้านมาวางจำหน่ายก็มักจะมีราคาสูง รวมทั้งมีข้อเสนอในการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรต่าง ๆ ด้วย

ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General purpose Software)
จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาสำหรับงานทั่ว ๆ ไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย ทำให้เป็นซอฟต์แวร์ประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่ในเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป สามารถแบ่งตามประเภทของงานได้ดังนี้
ซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spreadsheet)
ธุรกิจในสมัยก่อนนั้นการทำงบประมาณ หรือการวางแผนต่าง ๆ ต้องใช้กระดาษบัญชีและเครื่องคิดเลขเท่านั้น สำหรับสมัยนี้ด้วยซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้สามารถพิมพ์หัวข้อหรือชื่อของข้อมูล และตัวเลขข้อมูลต่าง ๆ เข้าในคอมพิวเตอร์ โดยที่ในคอมพิวเตอร์จะมีตารางที่เปรียบเสมือนกระดาษบัญชีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถคำนวณได้ตามสูตรที่ผู้ใช้ทำการกำหนด โดยที่สูตรเหล่านั้นจะไม่ปรากฏในช่องของข้อมูลเลย ยิ่งไปกว่านั้นหากผู้ใช้เปลี่ยนตัวเลขหรือข้อมูลใด ๆ ก็ตาม จะเห็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกันในทันที ปัจจุบันมีผู้ใช้ประโยชน์ของตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์มากมาย ไม่เฉพาะแต่ในทางบัญชีเท่านั้น แต่ยังนิยมใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ บริหารการเงิน และอื่น ๆ อีกมาก

ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing)
ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับงานพิมพ์เอกสารรวมอยู่ด้วย ซึ่งโปรแกรมนี้ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับสร้าง แก้ไข ตรวจสอบ พิมพ์ และจัดเก็บข้อความต่าง ๆ หนังสือที่จำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบันนี้ ส่วนมากก็เริ่มต้นจากการพิมพ์ข้อความลงในคอมพิวเตอร์ด้วยซอฟต์แวร์ที่ประมวลคำ
ซอฟต์แวร์การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing)
ในสมัยก่อนการจัดทำหนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่าง ๆ นั้นต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมายหลายขั้นตอนซึ่งรวมเรียกว่าการเรียงพิมพ์ โดยที่จะต้องมีผู้ตัดต่อรูปภาพที่ต้องการ วาดกรอบของภาพหรือกรอบหัวเรื่อง และเขียนข้อความ และนำข้อความ ภาพ และกรอบมาประกอบกันตามแบบที่ออกแบบไว้ การทำงานที่ยุ่งยากเหล่านี้นี่เองที่ทำให้เอกสารเหล่านั้นมีราคาแพง แต่ในปัจจุบันนี้ขอเพียงมีคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมการจัดพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ เท่านั้น ก็สามารถที่จะออกแบบงานหรือเอกสารให้เป็นที่น่าสนใจได้ โดยซอฟต์แวร์การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะจะมีความสามารถด้านการจัดการเอกสาร ความสามารถด้านการเรียงพิมพ์ รวมทั้งการจัดสีที่สูงกว่าซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ

ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยอาจประกอบด้วยตัวอักษร รูปภาพ แผนผัง รายงาน ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น นิยมใช้ในการเรียนการสอน หรือการประชุม เพื่อนำเสนอข้อมูลให้การบรรยายนั้นน่าสนใจยิ่งขึ้น

ซอฟต์แวร์กราฟิก (Graphic Software)
เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ การใช้งานในระดับเบื้องต้นอาจนำไปใช้ประกอบการสร้างเอกสาร หรือการนำเสนอข้อมูล ส่วนการใช้ในระดับสูงอาจใช้สำหรับการตกแต่งภาพหรือรูปถ่าย หรือใช้สำหรับงานด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วิศวกรรม เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database)
โปรแกรมฐานข้อมูลเป็นโปรแกรมสำหรับสร้างแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยโปรแกรมจะมีเครื่องมือต่าง ๆ ในการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการจัดการแฟ้มข้อมูล เช่น มีเครื่องมือสำหรับการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ หรือสามารถเรียกแฟ้มข้อมูลนั้นขึ้นมาแสดงบนจอภาพโดยกำหนดเงื่อนไขให้เลือกข้อมูลมาแสดงเพียงบางส่วน เป็นต้น

ซอฟต์แวร์สื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Software)
ถ้าผู้ใช้ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลออกไป สามารถทำได้โดยใช้ซอฟต์แวร์สำหรับติดต่อสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นเทอร์มินัล(terminal) ที่สามารถติดต่อไปยังระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้หลายคนได้โดยใช้สายโทรศัพท์ในการโทรติดต่อ และเมื่อติดต่อได้แล้วก็จะสามารถใช้งานระบบต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องนั้นได้ เสมือนกับนั่งใช้เครื่องอยู่ข้าง ๆ เครื่องที่เราติดต่อเข้าไป การใช้งานที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น ร่วมคุยกับกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกัน แลกเปลี่ยนจดหมายกับผู้อื่นในระบบหรือแม้กระทั่งจองตั๋วเครื่องบินและจองโรงแรมผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/3-10.JPG
โปรแกรมสื่อสารโทรคมนาคม



ซอฟต์แวร์ค้นหาข้อมูล (Resource Discovery Software)
หมายถึงซอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลที่ต้องการ จากแหล่งข้อมูลในที่ต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันนี้ความนิยมในการใช้การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเตอร์เนต หรือเครือข่ายเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ช่วยให้สามารถเรียกค้นข้อมูลที่ต้องการทราบได้จากทั่วโลก ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ เช่น Archie , Gopher และ World Wide Web เป็นต้น
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/3-11.JPG
โปรแกรมค้นหาข้อมูล
ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language)
ชนิดของภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์เริ่มมาจากในมหาวิทยาลัย หรือในหน่วยงานของรัฐบาลที่ต้องการทำงานบางอย่าง นอกจากนี้ บางภาษาเกิดขึ้นเพราะความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีภาษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
จากการที่มีภาษาจำนวนมากมายนั้น ทำให้ต้องกำหนดระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการแบ่งประเภทของภาษาเหล่านั้น การกำหนดว่าเป็นภาษาระดับต่ำหนือภาษาระดับสูง จะขึ้นอยู่กับภาษานั้นใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใกล้เคียงกับรหัส และ เรียกว่า ภาษาระดับต่ำหรือว่าใกล้เคียงกับภาษาที่มนุษย์ใช้ (ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ เรียกว่า ภาษาระดับสูง)


ภาษาเครื่อง (Machine Language)
ก่อนปีค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือปต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่า ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก นักคอมพิวเตอร์จึงได้พัฒนาภาษาแอสเซมบลีขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น

ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
ต่อมาในปีค.ศ. 1952 ได้มีการพัฒนาโปรแกรมภาษาระดับต่ำตัวใหม่ ชื่อภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) โดยที่ภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น ๆ ในสมัยนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ คือใช้สัญลักษณ์แทนเลข และ ของภาษาเครื่อง ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จะได้ง่าย เรียกว่า นิมอนิกโคด (mnemonic code)เช่น
สัญลักษณ์นิวมอนิกโคด
ความหมาย
A
C
MP
STO
การบวก (Add)
การเปรียบเทียบ(Compare)
การคูณ (Muliply)
การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ (Store)
ตัวอย่างนิวมอนิกโคด

ถึงแม้ว่านิวมอนิกโคดที่ใช้จะไม่ใช้คำในภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้สามารถจดจำได้ง่ายกว่าสัญลักษณ์เลข และ ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลียังสามารถกำหนดชื่อของที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นคำในภาษาอังกฤษ แทนที่จะเป็นเลขที่ตำแหน่งในหน่วยความจำ เช่น TOTAL , INCOME เป็นต้น แต่ข้อจำกัดของภาษาภาษาแอสเซมบลี คือ จะแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่องเช่นเดียวกับภาษาเครื่อง
ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ แอสเซมเบลอ (Assembler) แปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ

ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ในปีค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้น ภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วย ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาถึงทางแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป
ภาษาระดับสูงนี้ถือว่าเป็น ภาษายุคที่สาม (third-generation language) ซึ่งทำให้เกิดการประมวลผลข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970 และมีผู้หันมาใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น โดยสังเกตได้จามเครื่องเมนเฟรมจากจำนวนร้อยเครื่องเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นเครื่อง อย่างไรก็ตาม ภาษาระดับสูงก็ยังคงต้องการตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องทำงานต่อไป ตัวแปลภาษาที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไปจะเป็นแบบคอมไพเลอร์ ซึ่งแต่ละภาษาก็มีคอมไพเลอร์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งคอมไพเลอร์แต่ละตัวก็จะต่างกันไปบนเครื่องแต่ละชนิดด้วย เช่น ถ้าเขียนโปรแกรมภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องเลือกใช้คอมไพเลอร์ภาษา COBOL ที่ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งภาษาใดบนเครื่องที่ต่างกันอาจจะแตกต่างกันได้ เพราะคอมไพเลอร์ที่ใช้ต่างกันนั่นเอง
ภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษาได้ถูออแบบมาให้ใช้แก้ปัญหางานเฉพาะบางอย่าง เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟฟิก เป็นต้น แต่ภาษาคอมพิวเตอร์โดยมากจะมีความยืดหยุ่นให้ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ เช่น ภาษา BASIC ภาษา COBOL หรือภาษา FORTRAN เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีภาษา ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน

ภาษาระดับสูงมาก (Very high-level Language)
เป็นภาษายุคที่ 4 (fourth-generation language) หรือ 4GLs จะเป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษาในยุคก่อน ๆ การทำงานบางอย่างสามารถใช้เพียง ถึง 10 บรรทัดเท่านั้น ในขณะที่ถ้าเขียนด้วยภาษา อาจต้องใช้ถึง 100 บรรทัด โดยพื้นฐานแล้ว ภาษาในยุคที่ นี้มีคุณสมบัติที่แยกจากภาษาใยุคก่อน ๆ อย่างชัดเจน กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการของ การเขียนโปรแกรมแบบโพรซีเยอร์ (procedurl language) ในขณะที่ภาษาในยุคที่ จะเป็นแบบ ไม่ใช้โพรซีเยอร์ (nonprocedurl language) ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว
มีนักเขียโปรแกรมกล่าวว่า ถ้าใช้ภาษาในยุคที่ 4 นี้เขียนโปรแกรมจะทำให้ได้งานที่เพิ่มขึ้นถึงสิบเท่าตัว ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการพิมพ์รายงานแสดงจำนวนรายการสินต้าที่ขายให้ลูกค้าแต่ละคนในหนึ่งเดือน โดยให้แสดงยอดรวมของลูกค้าแต่ละคน และให้ขึ้นหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์รายงานลูกค้าแต่ละคน จะเขียนโดยใช้ภาษาในยุคที่ ได้ดังนี้
TABLE FILE SALES
SUM UNIT BY MONTH BY CUSTOMER BY PROJECT
ON CUSTOMER SUBTOTAL PAGE BREAK
END

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเป็นงานที่ซับซ้อน ซึ่งถ้าใข้ภาษา COBOL เขียนอาจจะต้องใช้ถึง 500คำสั่ง แต่ถ้าใช้ภาษาในยุคที่ นี้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากเลย
ข้อดีของภาษาในยุคที่ 4
§  การเขียนโปรแกรมจะเน้นที่ผลของงานว่าต้องการอะไร ไม่สนใจว่าจะทำได้อย่างไร
§  ช่วยพัฒนาเนื้องาน เพราะเขียนและแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย
§  ไม่ต้องเสียเวลาอบรมผู้เขียนโปรแกรมมากนัก ไม่ว่าผู้ที่จะมาเขียนโปรแกรมนั้นมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือไม่
§  ผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องทราบถึงฮาร์ดแวร์ของเครื่องและโครงสร้างโปรแกรม
ภาษาในยุคที่ นี้ยังมีภาษาที่ใช้สำหรับเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ เรียกว่า ภาษาเรียกค้นข้อมูล (query language) โดยปกติแล้วการเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล และการแสดงรายงานจากฐานข้อมูล จะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า แต่บางครั้งอาจมีการเรียกดูข้อมูลพิเศษที่ไม่ได้มีการวางแผนไว้ ถ้าผู้ใช้เรียนรู้ภาษาเรียกค้นข้อมูลก็จะขอดูรายงานต่าง ๆ นอกเหนือจากที่ได้มีการวางแผนไว้ได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก ภาษาเรียกค้นข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า SQL (Structured Query Language) และนอกจากนี้ยังมีภาษา Query Bu Example หรือ QBE ที่ได้รับความนิยมการใช้งานมากเช่นกัน

ภาษาธรรมชาติ (Nature Language)
เป็น ภาษายุคที่ 5 (fifth generation language) หรือ 5GLs ธรรมชาติหมายถึงธรรมชาติของมนุษย์ คือไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั่งบางคนอาจจะใช้ศัพท์แสลงก็ได้ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาติจะใช้ ระบบฐานความรู้ (knowledge base system) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ
·         การเลือกใช้คอมพิวเตอร์
เนื่องจากในปัจจุบันทุก ๆ ปีจะมีภาษาคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมากมาย และภาษาต่าง ๆ จะมีจุดดีและจุดด้อยแตกต่างกันไป ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องทำการคัดเลือกภาษาที่จะนำมาใช้งานอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเมื่อศึกษาและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนไปใช้ภาษาอื่นในภายหลังจะเป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องสูญเสียไป รวมทั้งปัญหาของบุคลากรที่ต้องศึกษาหาความชำนาญใหม่อีกด้วย
ในการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้ สิ่งที่ควรพิจารณาคือ
o    ในหน่วยงานหนึ่ง ๆ ควรจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาเดียวกัน เพราะการดูแลรักษาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น ตลอดจนการจัดหาบุคลากรจะกระทำให้ง่ายกว่า
o    ในการเลือกภาษาควรเลือกโดยดูจากคุณสมบัติหรือข้อดีของภาษานั้น ๆ เป็่นหลัก
o    ถ้าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นต้องนำไปทำงานบนเครื่องต่าง ๆ กัน ควรเลือกภาษาที่สามารถใช้งานได้บนทุกเครื่อง เพราะจะทำให้เขียนโปรแกรมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
o    ผู้ใช้ควรจำกัดภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ ไม่ควรติดตั้งตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ทุกภาษาบนเครื่องทุกเครื่อง
o    ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้ จะถูกจำกัดโดยนักเขียนโปรแกรมที่มีอยู่ เพราะควรใช้ภาษาที่มีผู้รู้อยู่บ้าง
o    บางครั้งในงานที่ไม่ยุ่งยากนัก อาจใช้ภาษาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เช่น ภาษา BASIC เพราะเขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งมีติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากอยู่แล้ว
ภาษาคอมพิวเตอร์
การใช้งาน
BASIC (Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code)
สำหรับผู้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
COBOL (Common Business Oriented Language)
นิยมใช้ในงานธุรกิจบนเครื่องขนาดใหญ่
FORTRAN (FORmula TRANslator)
ใช้สำหรับงานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
Pascal (ชื่อของ Blaise Pascal)
ใช้ในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
C
สำหรับนักเขียนโปรแกรม และใช้ในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
C++
สำหรับผู้ผลิตซอฟต์แวร์
ALGOL (ALGOrithmic Language)
เริ่มต้นได้รับการออกแบบให้เป็นภาษาสำหรับงานทางวิทยาศาสตร์ และต่อมามีการพัฒนาต่อเป็นภาษา PL/I และPascal
APL (A Programming Language)
ออกแบบโดยบริษัท IBM ในปีค.ศ.1968 เป็นภาษาที่โต้ตอบกับผู้ใช้ทันที เหมาะสำหรับจัดการกับกลุ่มของข้อมูลที่สัมพันธ์กันในรูปแบบตาราง
LISP (LIST Processing)
ถูกออกแบบมาให้ใช้กับข้อมูลที่ไม่ใช้ตัวเลข ซึ่งอาจเป็นสัญลักษณ์พิเศษหรือตัวอักษรก็ได้ นิยมใช้ในด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artifical Inelligence)
LOGO
นิยมใช้ในโรงเรียน เพื่อสอนทักษะการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน
PL/I (Programming Language One)
ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ
PROLOG (PROgramming LOGIC)
นิยมใช้มากในงานด้านปัญญาประดิษฐ์ จัดเป็นภาษาธรรมชาติภาษาหนึ่ง
RPG (Report Program Generator)
ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทางธุรกิจ จะมีคุณสมบัติในการสร้างโปรแกรมสำหรับพิมพ์รายงานที่ยืดหยุ่นมาก 
ภาษาคอมพิวเตอร์กับการใช้งาน

·         ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันนี้มีภาษาคอมพิวเตอร์ให้เลือกใช้มากมายหลายภาษา แต่ละภาษาก็ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานด้านต่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่น บางภาษาก็ออกแบบมาให้ใช้แก้ปัญหาทางธุรกิจ บางภาษาก็ใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งจะกล่าวโดยสรุปถึงการใช้งานของแต่ละภาษาดังนี้
ภาษา BASIC
เป็นภาษาที่ใช้ง่าย และติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมและผู้ที่เขียนโปรแกรมเป็นงานอดิเรก นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมสั้น ๆ
ภาษา BASIC รุ่นแรกใช้ interpreter เป็นตัวแปลภาษา ทำให้เขียนโปรแกรม ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ทำงานได้ช้า ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมเชี่ยวชาญแล้วไม่นิยมใช้งาน แต่ปัจจุบันนี้มีภาษา BASIC รุ่นใหม่ออกมาซึ่งใช้ conplier เป็นตัวแปลภาษา ทำให้ทำงานได้คล่อ่งตัวขึ้น เช่น Microsoft's Quick BASIC และ Visual Basic เป็นต้น
o    ภาษา COBOL
เป็นภาษาระดับสูงที่ออกแบบมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 นิยมใช้สำหรับการแก้ปัญหาทางด้านธุรกิจ เช่น การจัดเก็บ เรียกใช้ และประมวลผลทางด้านบัญชี ตลอดจนทำงานด้านการควบคุมสินค้าคงคลัง การรับและจ่ายเงิน เป็นต้น
คำสั่งของภาษา COBOL จะคล้ายกับภาษาอังกฤษทำให้สามารถอ่านและเขียนโปรแกรมได้ไม่ยากนัก ในยุคแรก ๆ ภาษา COBOL จะได้รับความนิยมบนเครื่องระดับเมนเฟรม แต่ปัจจุบันนี้จะมีตัวแปลภาษา COBOL ที่ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย รวมทั้งมีภาษา COBOL ที่ได้รับการออกแบบตามแนวทางเชิงวัตถุ (Object Oriented) เรียกว่า Visual COBOLซึ่งช่วยให้โปรแกรมสามารถทำได้ง่ายขึ้น และสามารถนำโปรแกรมที่เขียนไว้มาใช้ในการพัฒนางานอื่น ๆ อีก
o    ภาษา Fortran
เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท IBM ตั้งแต่ปีค.ศ. 1957 ย่อมาจากคำว่าFORmula TRANslator ซึ่งถือว่าเป็นการกำเนิดของภาษาระดับสูงภาษาแรก นิยมใช้สำหรับงานที่มีการคำนวณมาก ๆ เช่น งานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
o    ภาษา Pascal
เป็นภาษาระดับสูงที่เอื้ออำนวยให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนโปรแกรมได้อย่างมีโครงสร้าง และเขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาอื่น นิยมใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอน และการเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
ภาษาปาสคาลมีตัวแปลภาษาทั้งที่เป็น interpreter และ Compiler โดยจะมีโปรแกรมเทอร์โบปาสคาล (Turbo Pascal) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งในวงการศึกษาและธุรกิจ เนื่องจากได้รับการปรับปรุงให้ตัวข้อเสียของภาษาปาสคาลรุ่นแรก ๆ ออก
o    ภาษา และ C++
ภาษา ถูกพัฒนาขึ้นโดย ในปีค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับ
ภาษา เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษา จะเป็นภาษาที่รวมเอกข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่นและไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ กับข้อดีของภาษาแอสเซมบลีในเรื่องของประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานทำให้โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงอื่น ๆ ในขณะที่การพัฒนาและแก้ไขโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกันภาษาระดับสูงทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษา ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ (++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก
·         ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming Language)
นักเขียนโปรแกรมบางคนคิดว่าการเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่นั้น บางครั้งก็เป็นงานที่หนักและเสียเวลามาก จึงได้พยายามคิดหาวิธีที่จะทำให้การเขียนโปรแกรมนั้นง่ายขึ้น และสามารถเขียนได้อย่าวรวดเร็ว ทำให้เกิดเทคนิค การโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) หรือOOP เพื่อช่วยลดความยุ่งยากของการเขียนโปรแกรม
Object-Oriented Programming ต่างจากการเขียนโปรแกรมโดยทั่ว ๆ ไป โดยการเขียนโปรแกรมตามปกตินั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะพิจารณาถึงขั้นตอนการแก้ปัญหาของโปรแกรมเหล่านั้น แต่เทคนิคของ OOPจะมองเป็น วัตถุ (object) เช่น กล่องโต้ตอบ (dialog box) หรือไอคอนบนจอภาพ เป็นต้น โดยออบเจ็คใดออบเจ็คหนึ่งจะทำงานเฉพาะที่แน่นอน ถ้าผู้ใช้ต้องการทำงานชนิดนั้นก็สามารถคัดลอกไปใช้ในโปรแกรมที่ต้องการได้ทันที
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/3-12.JPG
โปรแกรมเดลไฟ

หลักการของโปรแกรมเชิงวัตถุได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานแล้ว โดยภาษาเริ่มแรกคือSimula-67 ได้รับการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1967 และต่อมาก็มีภาษา smalltalk ซึ่งเป็นภาษาเชิงวัตถุเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ หลักการของ OOP ยังได้รับการนไปเสริมเข้ากับภาษาโปรแกรมในยุคที่คือ จนเกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ รวมทั้งยังมีการเสริมเข้ากับ การโปรแกรมแบบภาพ (visual programming) ทำให้เกิด Visual Basic ซึ่งมีรากฐานมาจาก BASIC และ Delphi ซึ่งมีรากฐานมาจาก Pascal นอกจากนี้ ในปัจจุบันจะมีภาษาที่ใช้หลักการโปรแกรมเชิงวัตถุตัวใหม่ล่าสุดซึ่งกำลังมาแรงและมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมสูงคู่กันอินเตอร์เน็ต นั่นคือภาษาJAVA

ภาษาที่ออกแบบมาสำหรับ OOP
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่มี การติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก (Graphical User Interfaceหรือ GUI) เช่น Microsoft Windows และ World Wide Web จะสามารถทำได้ง่าย รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ด้วยเครื่องมือในการพัฒนาที่ใช้หลักการของ OOP ซึ่งในปัจจุบันจะมีเครื่องมือประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากอยู่ ภาษา คือ Visual Basic และ JAVA

Visual Basic
ภาษา Visual Basic พัฒนาโดย Prof. Kemeny และ Kurtz ที่เมือง Dartmouth ในปีค.ศ. 1960โดยมีจุดประสงค์สำหรับใช้สอนในห้องคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นในยุคแรก ๆ จะมีหน่วยความจำไม่เพียงพอที่จะทำงานกับโปรแกรมภาษาอื่น เช่น FORTRAN และ COBOL เพราะขนาดของตัวแปรภาษาซึ่งต้องใช้หน่วยความจำสูงมาก แต่เครื่องเหล่านั้นสามารถใช้ภาษา BASIC ได้ เพราะภาษา BASIC ใช้ตัวแปลภาษาที่มีขนาดเล็ก และตัวแปลภาษานั้นไม่ต้องเก็บอยู่ในหน่วยความจำทั้งหมดก็สามารถทำงานได้ เป็นเหตุให้ภาษา BASIC ได้รับความนิยมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะได้รับการพัฒนาสูงขึ้นในเรื่องของความเร็วและหน่วยความจำเท่าใดก็ตาม แต่ภาษา Visual Basic จะแตกต่างจากภาษา BASIC โดยสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของหน่วยความจำที่ต้องการ และวิธีการพัฒนาโปรแกรม
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/3-13.JPG
โปรแกรมวิชวลเบสิค

ภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท Microsoft มีจุดประสงค์ในการใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่มีการติดต่อับผู้ใช้เป็นแบบกราฟฟิก โดยจะมีเครื่องมื่อต่าง ๆ ที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรมอย่างรวดเร็ว หรือที่นิยมเรียกว่า RAD (Repid Application Development) ปัจจุบันนี้มีผู้ใช้งานภาษา Visual Basic เป็นจำนวนมาก โดยภาษา Visual Basicได้รับการออกแบบให้ทำงานบนระบบวินโดว์เวอร์ชั่นต่าง ๆ จากไมโครซอฟต์ เช่น Visual Basic 3 ทำงานบนระบบวินโดว์ 3.11 ส่วน Visual Basic 4 และ ทำงานบนระบบวินโดว์ 95เป็นต้น

JAVA
ภาษาใหม่ที่มาแรงที่สุดในปัจจุบัน คงจะไม่มีภาษาไหนที่เทียบได้รับภาษาจาวาซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ ในปี 1991 โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่ง่ายต่อการใช้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่มีข้อผิดพลาด และสามารถใช้กับเครื่องใด ๆ ก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นข้อดีของจาวาที่เหนื่อกว่าภาษาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นด้วยจาวาสามารถนำไปใช้กับเครื่องต่าง ๆ โดยไม่ต้องทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ ทำให้ไม่จำกัดอยู่กับเครื่องหรือโอเอสตัวใดตัวหนึ่ง แม้ว่าการใช้งานจาวาในช่วงแรกจะจำกัดอยู่กับ World Wide Web (WWW) และ Internet แต่ในปัจจุบันได้มีการนำจาวาไปประยุกต์ใช้กับงานด้านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างมากมาย ตั้งแต่ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility) ไปจนกระทั่งซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น โปรแกรมชุดจากบริษัทCorel ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมหลัก ๆ คือ โปรแกรมเวิร์โปรเซสซิ่ง สเปรดซีต พรีเซนเตชั่น ที่เขียนขึ้นด้วยจาวาทั้งหมด
จาวายังสามารถนำไปใช้เป็นภาษาสำหรับอุปกรณ์แบบฝังต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ และอุปกรณ์ขนาดมือถือแบบต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งยังได้รับความนิยมนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้แล้ว จาวายังเป็นภาษาที่ถูกใช้งานในคอมพิวเตอร์แบบเอ็นซี (NC) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ล่าสุด ที่เน้นการทำงานเป็นเครือข่ายว่า แอพเพลต (applet) ที่ต้องการใช้งานขณะนั้นมาจากเครื่องแม่ ทำให้การติดต่อสื่อสารสารผ่านเครือข่ายใช้ช่องทางการสื่อสารน้อยกว่าการดึงมาทั้งโปรแกรมเป็นอย่างมาก
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/3-14.JPG
credit :http://mosstc1.blogspot.com/